20 NOV 2023 บทความผลิตภัณฑ์ 7 นาทีในการอ่าน 980 VIEWS

วิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดด รักษาอาการแสบ แดง คล้ำ ให้กลับมากระจ่างใส

วิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดด หลังจากออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง สามารถเลือกใช้โลชั่นเนื้อเบา ที่มีส่วนผสมของเซราไมด์ และกลีเซอรีนมาช่วยปลอบประโลม และลดอุณหภูมิผิวลงในทันที แต่หากผิวไหม้แดดรุนแรงถึงขั้นผิวลอก มีอาการแสบ หรือคันแล้ว ควรประคบน้ำแข็ง และปรึกษาแพทย์ เพื่อหายาที่ช่วยบรรเทาอาการ

ทั้งนี้ ก่อนออกแดดทุกครั้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มี SPF 50+ PA++++ เพื่อป้องกันผิวถูกทำร้ายจากรังสียูวีและความร้อน

เติมความชุ่มชื้น บำรุงล้ำลึก
#ghVegan ผิวดี วีแกน

คลิกเลย

ผิวไหม้แดด เกิดจากอะไร

ผิวไหม้แดด เกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน จึงถูกรังสี UVA และ รังสี UVB ในแสงแดดทำร้าย และร่างกายก็จะตอบสนองโดยการผลิตเม็ดสีเมลานินมากขึ้น เพื่อปกป้องผิวชั้นนอก จึงทำให้ผิวหมองคล้ำ และตามมาด้วยปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอย1

ลักษณะและอาการของผิวที่ไหม้แดด

อาการผิวไหม้แดดจะมีลักษณะผิวแดง แสบร้อน แห้งลอก ระคายเคือง เวลาไปสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บ หรือบางคนที่มีอาการรุนแรงมาก ผิวก็จะพองและมีตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นด้วย แม้อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้ แต่ก็ต้องรักษาผิวไหม้แดดให้ถูกวิธี และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

ระดับความรุนแรงของอาการผิวไหม้แดด

ความรุนแรงของผิวไหม้แดดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพผิว สีผิว ความแรงของแสงแดด ระยะเวลาที่โดนแดด และการป้องกัน จึงทำให้อาการผิวไหม้แดดของแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 ผิวไหม้แดดเล็กน้อย

หากผิวไหม้แดดไม่มาก เป็นแค่รอยแดง และมีอาการแสบเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้น 2-3 วัน จะมีอาการคันเพราะผิวลอก ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกาย ที่จะผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ถูกทำลายจนเสื่อมสภาพออก2 เป็นลักษณะอาการของผิวไหม้แดดระดับที่ 1 เพียงใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือครีมเนื้อเบาที่ช่วยลดอุณหภูมิผิวทาอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถหายได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ 5 วัน

ระดับที่ 2 ผิวไหม้แดดปานกลาง

ผิวไหม้แดดระดับปานกลาง จะมีอาการแสบร้อนบริเวณผิวหนัง ผิวบวมแดง ระคายเคือง เมื่อสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บปวด ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อหาครีมที่ช่วยลดการอักเสบ ระคายเคือง และจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูผิวไหม้แดดนานขึ้นกว่าระดับที่ 1 คือประมาณ 1-2 สัปดาห์

ระดับที่ 3 ผิวไหม้แดดรุนแรง

ผิวถูกทำลายลึกลงไปจนถึงชั้นหนังแท้ ทำให้สีผิวแดงคล้ำ มีอาการบวม ปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นเนื่องจากผิวพอง ต้องใช้เวลารักษาผิวไหม้แดดมากกว่า 2 สัปดาห์ ผิวจึงจะกลับมาเป็นปกติ หากมีอาการผิวไหม้แดดรุนแรงมาก หรือมีอาการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

ทำไมบางคนตากแดดเป็นเวลานาน แต่ไม่มีอาการผิวคล้ำเสีย แสบแดง

แม้จะอยู่ในสถานที่เดียวกัน ระยะเวลาเท่ากัน แต่ความไวต่อแดดของผิวแต่ละคนไม่เท่ากัน อาจเกิดจากพันธุกรรม เม็ดสีเมลานินในผิว การทำหัตถการ และความแข็งแรงของผิว ทำให้บางคนผิวไหม้แดดจนแสบร้อน ในขณะที่บางคนไม่เป็นอะไรเลย แม้โดนแดดในระยะเวลาที่เท่าๆ กัน แต่ผิวยังคงเนียนสวย กระจ่างใส ไม่คล้ำเสีย

การดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ และการทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนช่วยทำให้ผิวแข็งแรง ไม่ไวต่อแสง หรือเกิดอาการแพ้ระคายเคืองง่าย ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่ค่อยได้บำรุงผิวหรือทาครีมกันแดด เมื่อผิวอ่อนแอ ผิวก็จะแพ้แดดและไหม้เร็ว

เติมความชุ่มชื้น บำรุงล้ำลึก
#ghVegan ผิวดี วีแกน

คลิกเลย

วิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดด ที่โดนทำร้ายจากแสง UV

หากเกิดอาการผิวไหม้แดด แสบแดง หรือผิวคล้ำเสีย ไม่ต้องกังวล อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว สามารถหายได้ เพราะมีวิธีรักษาผิวไหม้จากแดด ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูผิวให้กลับมาแข็งแรง และทนต่อแดดได้มากขึ้น

ประคบเย็น ห้ามอาบน้ำร้อน

การอาบน้ำอุ่นก็จะยิ่งทำให้อาการผิวไหม้แดดแย่ลง แสบร้อนเพิ่มขึ้น และยังทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นจนระคายเคืองมากกว่าเดิม จึงควรอาบด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง และอาจใช้การประคบเย็นร่วมด้วย เป็นวิธีรักษาผิวไหม้แดดเร่งด่วนที่สามารถทำได้ทันทีหลังโดนแดด เพราะความเย็นจะช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการแสบร้อนได้ดี

ทาว่านหางจระเข้

การทาว่านหางจระเข้ เป็นวิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดดด้วยสมุนไพรที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง โดยว่านหางจระเข้มีสรรพคุณที่ช่วยปลอบประโลมผิว ลดการอักเสบ แสบร้อน ระคายเคือง จึงทำให้อาการไหม้แดดหายเร็ว และยังช่วยลดอุณหภูมิผิวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

ทาครีมหรือมอยส์เจอไรเซอร์ ชดเชยความชุ่มชื้นที่เสียไป

มอยส์เจอไรเซอร์ คือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีหน้าที่ช่วยเติมเต็มและกักเก็บความชุ่มชื้น จึงช่วยฟื้นฟูผิวไหม้แดด พร้อมเสริมชั้นปราการผิวให้แข็งแรง ป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดโอกาสผิวไหม้แดดง่ายในอนาคต ทั้งนี้ควรเลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น กลีเซอรินจากแบมบู คอมเพล็กซ์ วอเตอร์ ที่มีคุณสมบัติช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว และเซราไมด์ที่ได้จากน้ำมันมะกอก ซึ่งจะช่วยรักษาเกราะปกป้องความชุ่มชื้นผิว

เติมความชุ่มชื้น บำรุงล้ำลึก
#ghVegan ผิวดี วีแกน

คลิกเลย

ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น ฟื้นฟูผิว

อีกหนึ่งวิธีรักษาผิวไหม้แดดที่ทำได้ง่ายๆ ก็คือ การดื่มน้ำ ซึ่งจะช่วยชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปกับผิวไหม้แดด นอกจากนี้ยังช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย บรรเทาอาการแสบร้อน ทำให้ผิวเย็นลง และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้ผิวแข็งแรงและฟื้นตัวได้เองไวขึ้น

เลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรง เป็นเวลานาน

วิธีป้องกันผิวไหม้แดดที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวเผชิญกับแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10:00-16:00 น. ที่แดดแรงจัดและรังสียูวีมีความเข้มข้นสูง นอกจากจะทำให้ผิวคล้ำเสียแล้ว ยังทำให้เกิดริ้วรอย และมะเร็งผิวหนังได้ด้วย3 หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ก็ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น สวมเสื้อแขนยาว สวมแว่นกันแดด ใส่หมวก กางร่ม เป็นต้น

ทาครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกจากบ้าน

การทาครีมกันแดด เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่ขาดไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูหนาวก็มีโอกาสผิวไหม้แดดได้ เนื่องจากมีรังสียูวีที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าคอยทำร้ายผิวอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ และมี SPF 50+ ขึ้นไป เพื่อป้องกันรังสี UVB และ PA++++ ขึ้นไป เพื่อป้องกันรังสี UVA4

อีกทั้งควรมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงผิว เช่น พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลไมโครไบโอมผิว กลีเซอรีนจากพืช ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและปลอบประโลมผิว ชาเขียวช่วยต้านอนุมูลอิสระ โรสแมรี่ช่วยปลอบประโลมผิว และถ้าหากครีมกันแดดมี Clean Label ก็ยิ่งช่วยลดสาเหตุของการแพ้ระคายเคืองได้ เพราะหมายถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารลดแรงตึงผิวกลุ่มซัลเฟต สารแต่งสีสังเคราะห์ มิเนอรัล ออยล์ พาทาเลต พาราเบน และผ่านการทดสอบการแพ้โดยแพทย์ผิวหนัง

นอกจากนี้เนื้อสัมผัสต้องบางเบา กระจายตัวได้ดี ซึมเร็ว ไม่เป็นคราบ จึงจะเหมาะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันท่ามกลางอากาศร้อน และที่สำคัญต้องผ่านการทดสอบภูมิแพ้ว่าปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรืออุดตัน และปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับกลุ่มวีแกนที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมมังสวิรัติ ปราศจากส่วนผสมที่มาจากสัตว์ และไม่ทำการทดลองในสัตว์

เติมความชุ่มชื้น บำรุงล้ำลึก
#ghVegan ผิวดี วีแกน

คลิกเลย

เคล็ดลับในการทาครีมการแดดให้มีประสิทธิภาพ

  • ใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบำรุงผิว
  • ทาก่อนออกแดด 15–30 นาที
  • ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพราะครีมกันแดดบางส่วนจะถูกชะล้างไปกับเหงื่อ ความชื้นในอากาศ และทำให้ประสิทธิภาพลดลง
  • หากมีเหงื่อออกมาก หรือลงเล่นน้ำ ควรทาซ้ำบ่อยขึ้น ทุก 1-2 ชั่วโมง

ข้อห้ามที่ไม่ควรทำหากผิวไหม้แดด

การดูแลผิวอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผิวไหม้แดดกลับมาเป็นปกติได้ไว และลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาผิวต่างๆ ดังนั้นถ้าไม่อยากทำร้ายผิวไปมากกว่านี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้

หากมีอาการผิวลอก แสบ แดง ไม่ควรแกะ หรือเกา

เมื่อผิวชั้นนอกถูกทำลาย จะเกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกพร้อมกับการสร้างผิวใหม่ ซึ่งผิวใหม่นี้จะยังมีความบอบบางอยู่ จึงควรจะรอให้ผิวลอกไปเอง หากไปแกะ เกา หรือพยายามลอกออก จะยิ่งเป็นการทำร้ายผิว และทำให้แสบผิวกว่าเดิม เสี่ยงต่อการเกิดแผลและติดเชื้อได้

ห้ามเจาะตุ่มน้ำพอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ตุ่มน้ำเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อปกป้องผิวด้านล่างซึ่งเป็นผิวใหม่ จึงควรรอให้ตุ่มน้ำแห้งหรือแตกไปเอง ไม่ควรเจาะตุ่มน้ำให้แตก เพราะจะกลายเป็นแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อ2

ห้ามสครับผิวหลังผิวมีอาการไหม้แดด

หลีกเลี่ยงการขัดหรือสครับผิวหลังไหม้แดด เพราะเป็นช่วงที่ผิวจะบอบบางกว่าปกติ หากไปรบกวนผิวก็จะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบเพิ่มขึ้น หากต้องการสครับควรรอให้ผิวหายดีก่อน

เติมความชุ่มชื้น บำรุงล้ำลึก
#ghVegan ผิวดี วีแกน

คลิกเลย

สรุป

ผิวไหม้แดด เกิดจากการโดนแดดเป็นเวลานาน ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ บางคนจำเป็นต้องทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่บางคนปล่อยปละละเลยการดูแลผิว ไม่ทาครีมกันแดด ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน ทำให้ผิวไหม้แดด หากมีอาการไม่ควรปล่อยไว้ ให้รักษาผิวด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ประคบเย็น ดื่มน้ำเยอะๆ ทามอยส์เจอไรเซอร์หรือว่านหางจระเข้ เพื่อคืนความชุ่มชื้นและฟื้นฟูผิวให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

Reference
  1. Pobpad. ผิวไหม้แดด (SUNBURN). Pobpad.com. Retrieved 30 September 2023.
  2. พญ.ธารีณี ก่อวิริยกมล. เผยเคล็ดลับฟื้นฟูผิวไหม้แดด รักษาอาการแสบ แดง คล้ำ ด้วยวิธีง่ายๆ. Vimut.com. Published 3 May 2023. Retrieved 30 September 2023.
  3. Cleveland Clinic. Sunburn. my.clevelandclinic.org. Published 6 July 2023. Retrieved 30 September 2023.
  4. Siphhospital. วิธีการใช้ครีมกันแดด ป้องกันปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ. Siphhospital.com. Published 28 May 2021. Retrieved 30 September 2023.