23 MAR 2022 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 2126 VIEWS 17 แชร์

NEW สู่ NEXT NORMAL ร่างกายต้องพร้อม | นิตยสารอะชีฟ ฉบับเมษายน 2565


apr22-health4-03.png

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 แม้ว่าในปัจจุบันการฉีดวัคซีนจะสามารถลดโอกาสในการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ก็ยังพบการกลายพันธุ์ของเชื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างความกังวลรวมถึงผลกระทบด้านต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสู่วิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal และกำลังเข้าสู่ Next Normal ที่ผู้คนต่างหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะการมีร่างกายที่แข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีจะช่วยต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตรายและก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ทั้งยังเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตยุค Next Normal อีกด้วย

apr22-health4-04.png


apr22-health4-06.png

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง นอกจากการดูแลด้านโภชนาการ ออกกำลังสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดแล้ว อีกหนึ่งตัวช่วยที่สะดวกและได้รับความนิยมอย่างมากคือ การเสริมด้วยวิตามินต่างๆ ซึ่งก็มีให้เลือกมากมายหลายชนิด หนึ่งในวิตามินที่คนนิยมรับประทานเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง คือ “วิตามินซี” ซึ่งช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้เป็นปกติ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจากการถูกทำลาย นอกจากบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแล้ว วิตามินซียังช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นหวัด ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง และยังช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนอีกด้วย ดังนั้น วิตามินซีจึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง แถมยังได้ประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วยจัดเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ามากๆ

apr22-health4-05.png



apr22-health4-07.png

อีกหนึ่งตัวช่วยดูแลสุขภาพที่คนพูดถึงกันมากที่สุดตอนนี้ก็คือ “โพรไบโอติก” เจ้าจุลินทรีย์ดีที่มีชีวิตตัวน้อย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปรับสมดุลลำไส้และสุขภาพระบบทางเดินอาหาร บ่อยครั้งที่มักได้ยินคำกล่าวว่า “พื้นฐานของการมีสุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้” ก็ยิ่งตอกย้ำถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก จุลินทรีย์หลายล้านตัวอาศัยอยู่ภายในลำไส้ของเราซึ่งส่งผลต่อร่างกายตั้งแต่เล็กจนโต คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารที่ดี แต่มองข้ามเรื่องสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นจะต้องถูกย่อยและสารอาหารจะถูกดูดซึมเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ของเสียที่เหลือจากการดูดซึมไปใช้ก็จะผ่านกลไกขับออกจากร่างกาย ดังนั้น สุขภาพระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปากไปจนถึงลำไส้ รวมถึงกระบวนการหมักย่อยกากอาหารโดยจุลินทรีย์จึงมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก

apr22-health4-11.png


apr22-health4-10.png

นอกจากนี้ จำนวนและความหลากหลายของจุลินทรีย์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ใช้ยาปฏิชีวนะ ดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียด ล้วนส่งผลต่อสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น ระบบการย่อยและการดูดซึมยิ่งเสื่อมถอยไม่เป็นปกติ อาจก่อให้เกิดปัญหาท้องไส้แปรปรวนได้ เช่น ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือท้องเสีย


apr22-health4-08.png


นอกจากสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้จะมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหารแล้ว ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย แสดงให้เห็นว่า สมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย กล่าวคือ 70% ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเริ่มต้นที่ลำไส้ โดยมีปฏิกิริยาระหว่างจุลินทรีย์และเม็ดเลือดขาวเป็นกลไกสำคัญและสมดุลจุลินทรีย์ยังส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ เช่น จุดซ่อนเร้นของผู้หญิง อารมณ์ ความเครียด ผิวพรรณ และการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น ดังนั้น การรักษาสมดุลจุลินทรีย์ด้วยการเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกายจึงเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพที่คุ้มค่า เพราะนอกจากช่วยดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารและส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยดูแลความสมดุลของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายในร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดีมีความพร้อมในทุกวัน

apr22-health4-12.png



apr22-health4-09.png


สำหรับสายสุขภาพอีกหนึ่งตัวช่วยดูแลสุขภาพยุค Next Normal แน่นอนว่าหนีไม่พ้นสมุนไพร ธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีการใช้มาอย่างยาวนานทั้งในแง่ของการป้องกันโรคหรือส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ภูมิปัญญาชาวบ้านจนมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ในปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง พืชสมุนไพรทางตะวันตก เช่น อะเซโรลา เชอร์รี หรือทางตะวันออก เช่น กระเทียม ชะเอมเทศ ขมิ้นชัน

apr22-health4-14.png

เมื่อไม่นานนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับขมิ้นชัน จากงานวิจัยแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ของสารเคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในขมิ้นชัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรักษาเสริมด้วยเคอร์คิวมินต่อผลลัพธ์ทางคลินิก และตัวชี้วัดทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในผู้ป่วยโควิด 19 ซึ่งพบว่ามี 6 การศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การเสริมเคอร์คิวมินทำให้อาการโดยทั่วไป ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ของไซโตไคน์ (Cytokines) ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ IL1β และ IL6 และมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ของไซโตไคน์ต้านการอักเสบ IL-10, IL-35 และ TGF-α ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเสริมด้วยเคอร์คิวมินอาจเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการรักษาโรคโควิด 19

apr22-health4-13.png


นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยที่พบว่าการใช้สารสกัดเคอร์คิวมินร่วมกับวิตามินซีจากแหล่งธรรมชาติ เช่น อะเซโรลา เชอร์รี และสารกลีเซอไรซิกแอซิดจากชะเอมเทศ มีคุณสมบัติที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส โดยช่วยควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดพายุไซโตไคน์ (Cytokine Strom) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

apr22-health4-15.png


ข้อมูลอ้างอิง
• รามาแชนแนล. ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ได้อยู่กับคุณแค่สั้นๆ. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-long-covid-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/
• สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR). โพรไบโอติก (Probiotics). https://www.tistr.or.th/download/ebooks/TISTR_Probiotics.pdf
• สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. กรมอนามัย แนะผู้ป่วยลองโควิด-19 เน้นกิน ‘โปรตีน – โพรไบโอติกส์ – วิตามิน’ ช่วยฟื้นฟูร่างกาย. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/160265/
• หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยาต้านไซโตไคน์กับการรักษาโควิด-19. https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1569
• Carr, A. C., & Maggini, S. (2017). Vitamin C and Immune Function. Nutrients, 9(11), 1211. https://doi.org/10.3390/nu9111211
• Chen, L., Hu, C., Hood, M., Zhang, X., Zhang, L., Kan, J., & Du, J. (2020). A Novel Combination of Vitamin C, Curcumin and Glycyrrhizic Acid Potentially Regulates Immune and Inflammatory Response Associated with Coronavirus Infections: A Perspective from System Biology Analysis. Nutrients, 12(4), 1193. https://doi.org/10.3390/nu12041193
• Dhurakij Pundit University. New Norm & Next Normal for Wellness 3rd SMART: The Third Synergistic Meeting of Anti-aging and Regenerative Medicine of Thailand. https://www.dpu.ac.th/conference/upload/content/files/proceeding%20SMART%203rd.pdf
• Dix, M. (2020, August 25). What’s an Unhealthy Gut? How Gut Health Affects You. Healthline. https://www.healthline.com/health/gut-health
• Maldonado Galdeano, C., Cazorla, S. I., Lemme Dumit, J. M., Vélez, E., & Perdigón, G. (2019). Beneficial Effects of Probiotic Consumption on the Immune System. Annals of nutrition & metabolism, 74(2), 115–124. https://doi.org/10.1159/000496426
• Robertson, R. (2017, June 27). Why the Gut Microbiome Is Crucial for Your Health. Healthline. https://www.healthline.com/nutrition/gut-microbiome-and-health
• Vahedian-Azimi A, Abbasifard M, Rahimi-Bashar F, Guest PC, Majeed M, Mohammadi A, Banach M, Jamialahmadi T, Sahebkar A. Effectiveness of Curcumin on Outcomes of Hospitalized COVID-19 Patients: A Systematic Review of Clinical Trials. Nutrients. 2022; 14(2):256. https://doi.org/10.3390/nu14020256