20 OCT 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 1373 VIEWS

เตรียมพร้อมทุกวัน ให้ภูมิดีไม่มีตก | นิตยสารอะชีฟ ฉบับตุลาคม 2564

oct21-health2-20.png

การดูแลสุขภาพร่างกายให้พร้อมอยู่เสมอจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับภูมิคุ้มกันของร่างกายมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อเสริมเกราะปกป้องร่างกายให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของเรามีกลไกที่ช่วยป้องกันการรุกล้ำทำลายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยจำแนกเป็น 2 กลไกหลักด้วยกันคือ กลไกแบบไม่จำเพาะหรือภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด และกลไกหรือภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

กลไกแบบไม่จำเพาะหรือภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ด่านย่อย

ปราการด่านที่ 1

ปราการด่านที่ 2

ปราการด่านแรก หรือ “First line of defense” ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายเป็นลำดับแรก เป็นกลไกป้องกันการรุกล้ำจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายและไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ผิวหนัง การหลั่งสารจากต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน น้ำลาย น้ำตา รวมถึงเยื่อเมือกต่างๆ บริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น ปราการด่านที่สอง หรือ “Second line of defense” จะทำหน้าที่ต่อ โดยเป็นกลไกการป้องกันที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น การจับกินเชื้อโรคโดยเม็ดเลือดขาว การหลั่งสารโปรตีนที่ช่วยทำลายสิ่งแปลกปลอม การเกิดปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น

กลไกหรือภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

ปราการด่านที่ 3

คือปราการด่านสุดท้าย หรือ “Third line of defense” ร่างกายจะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผ่านการทำงานของเซลลล์เม็ดเลือดขาวอย่างจำเพาะเจาะจงสามารถจดจำเชื้อโรคได้ และมีการสร้างแอนติบอดี้เกิดขึ้น

หากเรามีสุขภาพดี

ก็จะทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ


oct21-health2-03.png


oct21-health2-04.png

รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ครบ 5 หมู่

oct21-health2-05.png

ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ

oct21-health2-06.png

งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

oct21-health2-07.png

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

oct21-health2-08.png

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

oct21-health2-09.png

ควบคุมน้ำหนักตัว

oct21-health2-10.png

ผ่อนคลายความเครียด

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 7 ข้อ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายแล้ว สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ โรคประจำตัว การแพ้ หรือเลือกรับประทานอาหารเฉพาะบางประเภท การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

oct21-health2-19.png


ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมีความซับซ้อน สารอาหารแต่ละชนิดจะช่วยกันเสริมการทำงานให้ดียิ่งขึ้น รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมเสริมสารอาหารเหล่านี้เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดี พร้อมสู้ในทุกๆ วัน

เอกสารอ้างอิง
• สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. http://nvi.ddc.moph.go.th/Download/EpiModule/ch1_2.pdf?fbclid=IwAR0RjMK8Vx6XU0_Uzjpsb8S69-sQCtGKgnlHYtdJ-ptLoFtGo6uA64q6aFk
• Barringer TA, Kirk JK, Santaniello AC, Foley KL, Michielutte R. Effect of a multivitamin and mineral supplement on infection and quality of life. A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Ann Intern Med. 2003 Mar 4;138(5):365-71. doi: 10.7326/0003-4819-138-5-200303040-00005.
• Beck FW, Prasad AS, Kaplan J, Fitzgerald JT, Brewer GJ. Changes in cytokine production and T cell subpopulations in experimentally induced zinc deficient humans. Am J Physiol Endocrinol Metab.1997;272:1002–7.
• Carr AC, Maggini S. Vitamin C and Immune Function. Nutrients. 2017;9(11):1211. Published 2017 Nov 3. doi:10.3390/nu9111211
• Chen, L., Hu, C., Hood, M., Zhang, X., Zhang, L., Kan, J., & Du, J. (2020). A Novel Combination of Vitamin C, Curcumin and Glycyrrhizic Acid Potentially Regulates Immune and Inflammatory Response Associated with Coronavirus Infections: A Perspective from System Biology Analysis. Nutrients, 12(4), 1193. https://doi.org/10.3390/nu12041193
• Chiang BL, Sheih YH, Wang LH, et al. Enhancing immunity by dietary consumption of a probiotic lactic acid bacterium (Bifidobacterium lactis HN019): optimization and definition of cellular immune responses. Eur J Clin Nutr. 2000; 54: 849-855.
• Eenfeldt, A. & Scher, B. (2021, June 17). Boosting your immune system to fight the coronavirus: what you need to know. Diet Doctor. https://www.dietdoctor.com/coronavirus
• Fukada T, Yamasaki S, Nishida K, Murakami M, Hirano T. Zinc homeostasis and signaling in health and diseases. J Biol Inorg Chem 2011; 16:1123–1134.